วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

การวิวัฒนาการ

พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)

 

โฮโม เซเปียนส์ เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 300,000 ปีมาแล้ว แต่วิวัฒนาการแตกต่างจรากโฮโม อีเรคตัส อย่างชัดเจนเมื่อประมาณ 100,000 ปี ที่ผ่านมา โฮโม เซเปียนส์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (subspecies) ได้แก่ โฮโม เซเปียนส์นีแอนเดอร์ธัลเลนซิส (Homo Sapiens Neandertalensis) หรือมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล และโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ (Homo Sapiens Sapiens)





  1. มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ปรากฏเมื่อประมาณ 75,000 ปีกมาแล้ว เนื่องจากขุดพบครั้งแรกบริเวณที่ราบลุ่มนีแอนเดอร์ (Neander) ของประเทศเยอรมัน จึงตั้งชื่อตามที่ราบลุ่มที่ขุดพบ คำว่า tal ในภาษาเยอรมันหมายถึงที่ราบลุ่ม (valley) ลักษณะทางกายวิภาคของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล คือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ มีความจุสมองมากขึ้น คือ ประมาณ 1,300 ลูกบาศ์กเซนติเมตร ซึ่งมีความใกล้คียงกับมนุษย์ปัจจุบัน สันคิ้วและกระดูกโหนกหน้าผากลาดเอียง มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีขนาดความสูงประมาณกว่า 5 ฟุตเล็กน้อยการประดิษฐ์เครื่องมือหินแบบมูส์เตเรียน (Mousterian) ซึ่งมีขนาดเล็กลงและมีขอบคมกว่าเครื่องมือหินแบบอาชูเลี่ยน แสดงให้เห็นว่านีแอนเดอร์ธัลใช้เครื่องมือในการทำงานที่ละเอียดประณีตมากขึ้น เช่น แกะสลักไม้และกระดูกสัตว์ เริ่มมีศิลปะการตกแต่งเกิดขึ้น และจากซากโครงกระดูกที่จัดอย่างเป็นระเบียบ รายรอบด้วยเครื่องมือใช้ท่ทำด้วยหินและกระดูกสัตว์ทำให้สันนิษฐานว่าคนเหล่านี้มีพิธีทำสพและอาจมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ ซากโครงกระดูกของนีแอนเดอร์ธัลพบในประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สเปน ยูโกสลาเวีย อิสราเอล อิตาลี เป็นต้น 


  2. เชื่อกันว่ามนุษย์โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนาตัวเองขึ้นในอาฟริกา ได้ก้าวเข้ามาแทนที่มนุษย์นิแอนเดอร์ธัลที่สูญพันธุ์ไป สันนิษฐานว่า อาจเนื่องจากถูกตามล่าฆ่าหมดหรือถูกกดดันหลบไปอยู่ตามที่ห่างไกลจนสูญพันธุ์หมดไป หรืออาจมีบางส่วนผสมพันธุ์ กับโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ แล้วค่อย ๆ กลายมาเป็นโฮโม เซเปียนส์ ในปัจจุบัน จุดหลังนี้เป็นข้อสันนิษฐานซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ 

  3. การมีภาษาเบื้องต้นน่าจะพัฒนาในช่วงของโฮโม เซเปียนส์ เนื่องจากการวิเคราะห์โครงสร้างกายภาพ พบว่าโฮโม เซเปียนส์ มีกล่องเสียงเคลื่อนลงมาอยู่บริเวณกลางลำคอซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะเปล่งเสียงเป็นภาษาพูดได้ในขณะที่สัตว์ไพรเมตส์ชนิดอื่น รวมทั้งมนุษย์ก่อนหน้านี้มีกล่องเสียงอยู่ในตำแหน่งบนสุดของลำคอ ทำให้ไม่น่าจะสามารถเปล่งเสียงเป็นคำพูดได้นอกจากนี้ พัฒนาการของภาษาพูดยังสัมพันธ์กันกับสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้พัฒนาขึ้น ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิต นักมานุษยวิทยาพบว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ธัลอาจเริ่มมีการประกอบพิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งสะท้อนว่าเริ่มมีจินตนาการเรื่องโลกหลังความตาม แต่ก็มีผู้แย้งหลักฐานนี้ว่าดอกไม้ที่พบในหลุมศพอาจเป็นเกสรดอกไม้ป่าที่ปลิวมาได้ 


 

พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)

โฮโม เซเปียนส์ เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 300,000 ปีมาแล้ว แต่วิวัฒนาการแตกต่างจรากโฮโม อีเรคตัส อย่างชัดเจนเมื่อประมาณ 100,000 ปี ที่ผ่านมา โฮโม เซเปียนส์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (subspecies) ได้แก่ โฮโม เซเปียนส์นีแอนเดอร์ธัลเลนซิส (Homo Sapiens Neandertalensis) หรือมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล และโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ (Homo Sapiens Sapiens)




  1. มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ปรากฏเมื่อประมาณ 75,000 ปีกมาแล้ว เนื่องจากขุดพบครั้งแรกบริเวณที่ราบลุ่มนีแอนเดอร์ (Neander) ของประเทศเยอรมัน จึงตั้งชื่อตามที่ราบลุ่มที่ขุดพบ คำว่า tal ในภาษาเยอรมันหมายถึงที่ราบลุ่ม (valley) ลักษณะทางกายวิภาคของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล คือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ มีความจุสมองมากขึ้น คือ ประมาณ 1,300 ลูกบาศ์กเซนติเมตร ซึ่งมีความใกล้คียงกับมนุษย์ปัจจุบัน สันคิ้วและกระดูกโหนกหน้าผากลาดเอียง มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีขนาดความสูงประมาณกว่า 5 ฟุตเล็กน้อยการประดิษฐ์เครื่องมือหินแบบมูส์เตเรียน (Mousterian) ซึ่งมีขนาดเล็กลงและมีขอบคมกว่าเครื่องมือหินแบบอาชูเลี่ยน แสดงให้เห็นว่านีแอนเดอร์ธัลใช้เครื่องมือในการทำงานที่ละเอียดประณีตมากขึ้น เช่น แกะสลักไม้และกระดูกสัตว์ เริ่มมีศิลปะการตกแต่งเกิดขึ้น และจากซากโครงกระดูกที่จัดอย่างเป็นระเบียบ รายรอบด้วยเครื่องมือใช้ท่ทำด้วยหินและกระดูกสัตว์ทำให้สันนิษฐานว่าคนเหล่านี้มีพิธีทำสพและอาจมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ ซากโครงกระดูกของนีแอนเดอร์ธัลพบในประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สเปน ยูโกสลาเวีย อิสราเอล อิตาลี เป็นต้น 


  2. เชื่อกันว่ามนุษย์โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนาตัวเองขึ้นในอาฟริกา ได้ก้าวเข้ามาแทนที่มนุษย์นิแอนเดอร์ธัลที่สูญพันธุ์ไป สันนิษฐานว่า อาจเนื่องจากถูกตามล่าฆ่าหมดหรือถูกกดดันหลบไปอยู่ตามที่ห่างไกลจนสูญพันธุ์หมดไป หรืออาจมีบางส่วนผสมพันธุ์ กับโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ แล้วค่อย ๆ กลายมาเป็นโฮโม เซเปียนส์ ในปัจจุบัน จุดหลังนี้เป็นข้อสันนิษฐานซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ 

  3. การมีภาษาเบื้องต้นน่าจะพัฒนาในช่วงของโฮโม เซเปียนส์ เนื่องจากการวิเคราะห์โครงสร้างกายภาพ พบว่าโฮโม เซเปียนส์ มีกล่องเสียงเคลื่อนลงมาอยู่บริเวณกลางลำคอซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะเปล่งเสียงเป็นภาษาพูดได้ในขณะที่สัตว์ไพรเมตส์ชนิดอื่น รวมทั้งมนุษย์ก่อนหน้านี้มีกล่องเสียงอยู่ในตำแหน่งบนสุดของลำคอ ทำให้ไม่น่าจะสามารถเปล่งเสียงเป็นคำพูดได้นอกจากนี้ พัฒนาการของภาษาพูดยังสัมพันธ์กันกับสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้พัฒนาขึ้น ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิต นักมานุษยวิทยาพบว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ธัลอาจเริ่มมีการประกอบพิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งสะท้อนว่าเริ่มมีจินตนาการเรื่องโลกหลังความตาม แต่ก็มีผู้แย้งหลักฐานนี้ว่าดอกไม้ที่พบในหลุมศพอาจเป็นเกสรดอกไม้ป่าที่ปลิวมาได้ 


  4.  
  5. โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ หมายถึงมนุษย์ผู้ชาญฉลาดยิ่ง มีลักษณะทางกายวิภาคต่างจากมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล คือมีหน้าผากตั้งขึ้น สันคิ้วเล็กลง ไม่ยาวติดกัน ท้ายทอยเรียบมนกลม มีฟันซี่เล็กลง กระดูกบอบบางและเดินตัวตรงกว่านีแอนเดอร์ธัล ในขณะที่นีแอนเดอร์ธัลเวลาเดินจะหลังค่อมเล็กน้อยและใบหน้ายื่นไปข้างหน้า โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ในระยะเริ่มแรกจัดอยู่ในยุคหินเก่าตอนปลาย ตัวแทนแรกๆ ของมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ มนุษย์ Klasie ขุดพบในอาฟริกา มนุษย์ Qafzeh และ Skuhl ขุดพบในอิสราเอล มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) ขุดพบครั้งแรกที่แหล่งโครงมันยอง ในประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองมีหน้าผากตั้ง ใบหน้ายาว มีความจุสมองประมาณเกือบ 1,400 ลูกบาศ์กเซนติเมตร ส่วนโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ปัจจุบันมีความจุสมองประมาณ 1,350 ลูกบาศ์กเซนติเมตร มีสมองส่วนหน้าที่พัฒนาตั้งตรงขึ้นมากที่สุด จึงน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบภาษาที่สมบูรณ์ (full language) เต็มที่ขึ้น และทำให้เผ่าพันธุ์นี้ประสบความสำเร็จมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ 


  6. ซากโครงกระดูกของมนุษย์โครมันยองพบเป็นครั้งแรกที่แคว้นเวลล์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1823 และเมื่อ ค.ศ. 1868 ได้พบซากโครงกระดูกของมนุษย์พวกเดียวกันนี้อีกในประเทศฝรั่งเศส พวกนี้มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว มีส่วนสูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีขนาดมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปในปัจจุบัน พวกโครมันยองมีชีวิตอยู่ในตอนปลายสมัยหินเก่าและเป็นมนุษย์พวกแรกที่ได้สร้างงานด้านศิลปะคือรูปวาดตามฝาผนังถ้ำ รูปแกะสลักคนและสัตว์ที่ทำขึ้นอย่างหยาบๆ





ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน
ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อนี้

  1. ยืนตัวตรง และเคลื่อนที่ด้วยสองขา
  2. ช่วงขายาวกว่าแขน
  3. หัวแม่มือ หัวแม่เท้าสั้น โดยหัวแม่มือพับงอเข้าหาอุ้งมือได้ อุ้งมือและนิ้วทั้งสี่งอได้
  4. กระดูกสันหลังตั้งตรง โค้งเป็นรูปตัวเอส (S)
  5. ร่างกายไม่ค่อยมีขน
  6. สมองมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดร่างกาย
  7. หน้าสั้นและแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง
  8. ขากรรไกรสั้น และแนวฟันตามเพดานปากโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม
 

 
  1. โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ หมายถึงมนุษย์ผู้ชาญฉลาดยิ่ง มีลักษณะทางกายวิภาคต่างจากมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล คือมีหน้าผากตั้งขึ้น สันคิ้วเล็กลง ไม่ยาวติดกัน ท้ายทอยเรียบมนกลม มีฟันซี่เล็กลง กระดูกบอบบางและเดินตัวตรงกว่านีแอนเดอร์ธัล ในขณะที่นีแอนเดอร์ธัลเวลาเดินจะหลังค่อมเล็กน้อยและใบหน้ายื่นไปข้างหน้า โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ในระยะเริ่มแรกจัดอยู่ในยุคหินเก่าตอนปลาย ตัวแทนแรกๆ ของมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ มนุษย์ Klasie ขุดพบในอาฟริกา มนุษย์ Qafzeh และ Skuhl ขุดพบในอิสราเอล มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) ขุดพบครั้งแรกที่แหล่งโครงมันยอง ในประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองมีหน้าผากตั้ง ใบหน้ายาว มีความจุสมองประมาณเกือบ 1,400 ลูกบาศ์กเซนติเมตร ส่วนโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ปัจจุบันมีความจุสมองประมาณ 1,350 ลูกบาศ์กเซนติเมตร มีสมองส่วนหน้าที่พัฒนาตั้งตรงขึ้นมากที่สุด จึงน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบภาษาที่สมบูรณ์ (full language) เต็มที่ขึ้น และทำให้เผ่าพันธุ์นี้ประสบความสำเร็จมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ 


  2. ซากโครงกระดูกของมนุษย์โครมันยองพบเป็นครั้งแรกที่แคว้นเวลล์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1823 และเมื่อ ค.ศ. 1868 ได้พบซากโครงกระดูกของมนุษย์พวกเดียวกันนี้อีกในประเทศฝรั่งเศส พวกนี้มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว มีส่วนสูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีขนาดมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปในปัจจุบัน พวกโครมันยองมีชีวิตอยู่ในตอนปลายสมัยหินเก่าและเป็นมนุษย์พวกแรกที่ได้สร้างงานด้านศิลปะคือรูปวาดตามฝาผนังถ้ำ รูปแกะสลักคนและสัตว์ที่ทำขึ้นอย่างหยาบๆ




ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน

ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อนี้
  1. ยืนตัวตรง และเคลื่อนที่ด้วยสองขา
  2. ช่วงขายาวกว่าแขน
  3. หัวแม่มือ หัวแม่เท้าสั้น โดยหัวแม่มือพับงอเข้าหาอุ้งมือได้ อุ้งมือและนิ้วทั้งสี่งอได้
  4. กระดูกสันหลังตั้งตรง โค้งเป็นรูปตัวเอส (S)
  5. ร่างกายไม่ค่อยมีขน
  6. สมองมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดร่างกาย
  7. หน้าสั้นและแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง
  8. ขากรรไกรสั้น และแนวฟันตามเพดานปากโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น