วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

มนุษย์

มนุษย์

 (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo sapiens, ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว[2]

เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธคคัส (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo[3] สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่[4][5] Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว[6][7] ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง 1280[8][9] ราว 10,000 ปีที่แล้ว มนษย์เริ่มเกษตรกรรมแบบอยู่กับที่ โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ป่า ทำให้ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงและเทคนิคใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาสาธารณสุขในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ประชากรมนุษย์ยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะมนุษย์พบอาศัยอยู่ทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา จึงได้ชื่อว่าเป็น "สปีชีส์พบได้ทั่วโลก" (cosmopolitan species) จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประชากรมนุษย์ที่กองประชากรสหประชาชาติประเมินไว้อยู่ที่ราว 7 พันล้านคน[10]
 
มนุษย์มีลักษณะพิเศษ คือ มีสมองใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว โดยเฉพาะสมองชั้นนอก สมองส่วนหน้าและสมองกลีบขมับที่พัฒนาเป็นอย่างดี ทำให้มนุษย์สามารถให้เหตุผลเชิงนามธรรม ใช้ภาษา พินิจภายใน (introspection) แก้ปัญหาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมผ่านการเรียนรู้ทางสังคม ขีดความสามารถทางจิตใจของมนุษย์นี้ ประกอบกับการปรับตัวมาเคลื่อนไหวสองเท้าซึ่งทำให้มือว่างจัดการจับวัตถุได้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้ดีกว่าสปีชีส์อื่นใดบนโลกมาก มนุษย์ยังเป็นสปีชีส์เดียวเท่าที่ทราบที่ก่อไฟและทำอาหารเป็น สวมใส่เสื้อผ้า และสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีและศิลปะอื่น ๆ การศึกษามนุษย์เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ เรียกว่า มานุษยวิทยา

มนุษย์มีเอกลักษณ์ความถนัดในระบบการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ เช่น ภาษา เพื่อการแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิด และการจัดระเบียบ มนุษย์สร้างโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มจำนวนมากที่มีทั้งร่วมมือและแข่งขันกัน จากครอบครัวและวงศาคณาญาติ ไปจนถึงรัฐ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ได้ก่อตั้งค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคมและพิธีกรรม ซึ่งรวมกันเป็นรากฐานของสังคมมนุษย์ มนุษย์ขึ้นชื่อในความปรารถนาที่จะเข้าใจและมีอิทธิพลเหนือสิ่งแวดล้อม แสวงหาคำอธิบายและปรับเปลี่ยนปรากฏการณ์ต่าง ๆ ผ่านวิทยาศาสตร์ ปรัชญา เทพปกรณัมและศาสน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น